หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การทำไนโตรเจนเหลว

   




       ไนโตรเจน เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไปแต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์
       ไนโตรเจนเป็นแก็สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายในน้ำได้เล็กน้อยและเบากว่าอากาศ การทำไนโตรเจนเหลวเริ่มจากการดูดอากาศเข้าเครื่องอัดอากาศ ผ่านลงในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพื่อกำจัดแก้สคาร์บอกไดออกไซด์ แล้วผ่านอากาศที่ได้เข้าเครื่องกรองเพื่อแยกน้ำมันออกซึ่งน้ำมันนี้ เกิดจากการปนเปื้อนออกมาจากไอที่กระบอกสูบ และทำให้แห้งด้วยสารดูดความชื้น เช่น อะลูมินาหรือซีโอไลต์ ต่อจากนั้นทำให้อากาศแห้งมีอุณหภูมิลดลงจนถึง-183 องศาเซลเซียส แก็สออกซิเจนจะกลายเป็นของเหลวแยกตัวออกมาก่อน และเมื่อลดอุณหภูมิต่อไปจนถึง-196 องศาเซลเซียส ไนโตรเจนจะกลายเป็นของเหลวแยกตัวออกเป็นลำดับต่อมา ส่วนแก็สที่ยังเหลืออยู่ส่วนใหญ่คือแก็สไฮโดรเจนและแก็สเฉื่อยซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ไฯโตรเจนเหลวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การแช่แข็งอาหารประเภทต่างๆ นอกจากนี้ใช้ในทางการแพทย์ เช่น การแช่แข็งเลือดหรือส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา






การทดลองไนโตรเจนเหลว